หลังจากละครฟอร์มใหญ่ "ผู้ชนะสิบทิศ" ที่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน จนพับโครงการไปอันเนื ...
หลังจากละครฟอร์มใหญ่ "ผู้ชนะสิบทิศ" ที่ไปไม่ถึงฝั่งฝัน จนพับโครงการไปอันเนื่องจากการปรับเปลี่ยน โครงสร้างของผู้อำนวยการช่งโมเดิร์นไนน์ ภายหลังเหตุการณ์รัฐประหารในประเทศไทยเมื่อปี 2549
วันนี้กลับมาแล้ว ..เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม 2555 ที่บริษัท พร้อมมิตร โปรดักชั่น ถนนกรุงเทพกรีฑา มีการออดิชั่นนักแสดงของละคร “ผู้ชนะสิบทิศ” ในเวอร์ชั่นนี้ มีที่มาที่ไป กล่าวคือ
เมื่อ 6 ปีที่แล้ว ผู้ชนะสิบทิศของช่อง 9 สมัยที่ มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ถูกปูพรมด้วยแคมเปญ “ตามล่าหาจะเด็ด” เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2549 โดยผู้เข้ารอบทั้ง 18 คน ต้องเก็บตัวฝึกซ้อมกับที่ค่ายสุรสีห์ จ.กาญจนบุรี ประกอบด้วย "โอ" รติ ศิลปาจารย์, "เกรท" วรินทร ปัญหากาญจน์, "เอง" วรบรรพต ว่องสวัสดิ์, "ปอง" ปอง ยวกุล, "แป๊ะ" ปริญญา ศักดิ์นาวี, "อั๋น" อนุกูล, "บอล" สุภิญญา สุวรรณพงศ์, "ชาย" เสฎฐวุฒิ หอมสมบัติ, "นัท" ณัฐวุฒิ สิงหอำพล, "มิ้น" เสกสรร นาคสงวน, "ป๊อก" ภุชงค์ พรหมมะเนาว์, "ยอด" พงศกร จันทกูล, "เอ" วีระพล เอกเพชร, "ต้น" วรนันท์ พร้อมมูล, “โป๊ป” ธนวรรธน์ (ธนะ) วรรธนะภูติ, “อายส์” กษิดิศ มีพรหม และ “เอส” วีระยุทธ น่าบูรณะ
คนที่ชะนแคสท์บท “จะเด็ด” ในละครโทรทัศน์เรื่อง “ผู้ขนะสิบทิศ”คือ “โป๊บ” ธนวรรธน์ (ธนะ) วรรธนะภูติ แต่สุดท้ายโปรเจคละครเรื่องนี้ก็ถูกยกเลิกไป จากจุดนั้นก็ทำให้โป๊บได้มาเป็นลูกศิษย์ของท่านมุ้ย (หม่อมเจ้าชตรีเฉลิม ยุคล) และแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกคือ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 3 ยุทธนาวี” โดยโป๊บ รับบทเป็น ขุนรามเดช และเซ็นสัญญาเป็นนักแสดงของช่อง 3 ตามลำดับ
ต่อมาละครฟอร์มยักษ์เรื่องนี้ “ผู้ชนะสิบทิศ” ก็หายวับไปนานถึง 6 ปีเต็ม
ปี 2555 ณ วันนี้ ทุกอย่างกำลังถูกรื้อออกมาปัดฝุ่นอีกครั้ง !! ซึ่งยังไม่ทราบ่าใครจะมาจากที่ไหน หรือแสดงในบทบาทไหนเท่านั้นเอง ที่แน่ๆ ในวันนี้จะมีการแคสติ้งตัวละครใหม่ทั้งหมด ตั้งแต่ตัวพระเอกที่จะมารับบท “จะเด็ด” ไปจนถึงบรรดานางในดวงใจทั้งหลาย อันได้แก่ จันทรา, กุสุมา, นันทวดี, ปอละเตียง, กันทิมา, อเทตยา ฯลฯ
การร่วมมือของ อสมท กับ ท่ามุ้ยในคราวนั้น ก็เพื่อจะเปิดมิติใหม่ให้กับภาพยนตร์โทรทัศน์ ด้วยโปรดักชั่น ฉาก และเทคโนโลยี อันทันสมัยเท่าเทียมกับภาพยนตร์ด้วยการทุ่มทุนสร้างกว่า 100 ล้านบาท เราไม่อาจปฎิเสธได้ว่า ฉากทั้งหลายตลอดจนเครื่องแต่งกาย และอื่นๆ อีกสารพักใน “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” ในแต่ละภาคนั้น มีความงดงามและตระการตา และการทุ่มทุนมหาศาลขนาดนั้น ถ้าจะทำเฉพาะภาคต่าง ๆ ดังที่ปรากฎ ในภาพยนตร์มาแล้ว ก็เป็นเรื่องน่าเสียดาย
ตลอดหลายปีที่ผ่านมา .. จนถึง วันนี้ ก็มีเพียงค่าย “ที.วี.ซีน” เท่านั้นที่ไปเช่าถ่ายละครเรื่อง “ขุนศึก” ซึ่งกำลังแพร่ภาพอยู่ในวันจันทร์-อังคารขณะนี้ที่ช่อง 3
ละครโทรทัศน์เรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ” ของช่อง 9 อสมทนี้ ถือเป็น “เหล้าเก่าในขวดใหม่” เพราะคนที่จะออกหน้าในครั้งนี้คือ ม.ร.ว. ศรีคำรุ้ง ยุคล หรือ “หญิงแมงมุม” พระธิดาองค์โตของหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล และหม่อมกมลา ยุคล ณ อยุธยา ในนามของ “ศรีคำรุ้งโปรดักชั่น”
เหล้าเก่ายี่ห้อนี้ มีส่วนผสมที่ถูกจัดวางกันไว้ดีแล้วตั้งแต่เมื่อ 6 ปีก่อน เช่น เขียนบทโทรทัศน์ โดย ศัลยา (สุขะนิวัฒน์) และวิโรจน์ (ศรีสิทธ์เสรีอมร) โดยวิโรจน์ผู้นี้คือผู้กำกับมือทองด้านละคร ประวัติศาสตร์ ส่วนศัลยานั้นก็มีความชำนาญในการเขียนบท โทรทัศน์ละครอิงประวัติศาสตร์มาตั้งแต่สมัยอยู่ที่ช่อง 7 สี ซึ่งไม่นับรวมละคร “ดอก” อีกหลายเรื่องที่มีความแสบสันต์อยู่ในตัว ไมว่าจะเป็นดอกส้มสีทอง จนมาถึง ดอกโศก ที่กำลังฮอตสุด ๆ อยู่ที่ช่อง 5 ในขณะนี้ ความยาวของบทโทรทัศน์เรื่องนี้ ถ้าพิจารณาจากนวนิยายเล่มหนาของ “ยาขอบ” จำนวน 8 เล่ม รวบให้ กระชับที่สุดน่าจะมากกว่าละครทั่วไปสักเท่าตัว เพราะอย่างบทของช่อง 3 จะอยู่ที่ 27-28 ตอนเล็ก หรือ 14 ตอนโทรทัศน์ ดังนั้น ผู้ขนะสิบทิศ น่าจะอยู่ที่ 56-60 ตอนไม่น่าเกินไปกว่านี้
ในบรรดานวนิยายอิงประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นที่ชื่นชอบของคนไทยนั้น แทบจะนับเรื่องได้ และหนึ่งในนั้นก็คือ “ผู้ชนะสิบทิศ” ของ “ยาขอบ” รวมอยู่ด้วย โชติ แพร่พันธุ์ เรียก “ผู้ชนะสิบทิศ” ว่า นิยายปลอมพงศาวดาร เพียงแต่ว่า ผู้ชนะสิบทิศ หรือพระเจ้าบุเรงนอง มหาราชพระองค์หนึ่งที่มาจากพื้นตระกูลสามัญชน นามเดิมคือ “จะเด็ด”
นามปากาก “ยาขอบ” นี้ กุหลาบ สายประดิษฐ์ เป็นผู้ตั้งให้ โดยเลียนคำมาจาก W.W. Jacob นักเขียนเรื่องตลกในหนังสือพิมพ์ Strand ของประเทศอังกฤษ นวนิยายอิงพงศาวดารเรื่อง “ผู้ชนะสิบทิศ” นี้ความยาวถึง 8 เล่มเขียนขึ้นจากข้อความเพียง 7-8 บรรทัดในพระราชพงศาวดารพม่า พระนิพนธ์ในพระเจ้าบรมวงศืเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร พรมพระยาพระนราธิปพระพันธ์พงต์
นิยายปลอมพงศาวดารก็อย่าไปเข้าใจว่าเป็นเรื่องไปเสียหมด!! หรือคิดว่าจะทำเรื่องเชิตชู “มหาราชของพม่า” ก็หาไม่เพราะนวนิยายเรื่องนี้ก็มีแต่สร้างเสริมให้ดูโดยคนไทยเท่านั้น และทุกครั้งที่เคยทำผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์หรือละคร ก็มีความสนุกสนานและเป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม
ที่สำคัญกว่านั้นคือ ผู้ชนะสิบทิศ นี้ เป็นหนึ่งในละครเรื่องสำคัญ สถานีโทรทัศน์ช่อง 4 บางขุนพรหม (หรือโมเดิร์นไนน์ช่อง 9 อสมท ในปัจจุบัน) จะเด็ด สมัยที่ยังเป็นช่อง 9 บางขุนพรหม มีผู้แสดงต่างวาระ มาแล้วถึง 3 คน อันได้แก่ ประกอบ ไชยพิพัฒน์, ชรินทร์ นันทนาคร, อัศวิน รัตนประชา,นิรุตต์ ศิริจรรยา (ร่วมด้วย นันทวัน เมฆใหม่, สมชาติ ประชาไทย (คู่กับ พิมพ์ใจ พรหมมาลี) และช่อ คือสันติสุข พรหมศิริ (ร่วมด้วย นาถยา แดงบุหงา), สินใจ หงส์ไทย (เปล่งพานิช-ปัจจุบัน), ไตรภพ ลิมปพันธ์ เริ่มแพร่ภาพเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2532 กำกับการแสดงโดย พิศาล อัครเศรณี นับจากนั้นก็ทิ้งช่องห่างจนมาถึงปัจจุบัน
ในด้านภาพยนตร์นั้น แสดงโดย ไชยา สุริยัน และ พิศมัย วิไลศักดิ์ จัดสร้างเป็น 3 ภาค ได้แก่ ยอดขุนพล (พ.ศ. 2509), บุเรงนองลั่นกลองรบ (พ.ศ.2510) และถล่มหงสาวดี (พ.ศ.2510)
ส่วนผลงานเพลงที่รู้จักกันดีเช่น ผู้ชนะสิบทิศ (บุเรงนองรำลึก) และบุเรงนองลั่นกลองรบ นอกจากนี้ภายหลัง ครูไศล ไกรเลิศ และครูศักดิ์ เกิดศิริ ได้ประพันธ์เพลงรวมกันอยู่ในชุด “ผู้ชนะสิบทิศ” ซึ่งเป็นลิขสิทธิ์ของแม่เพลงไทย ในปัจจุบัน ทุกเพลงไพเราะหมด
ขอต้อนรับการกลับมาของผู้ชนะสิบทิศ อย่างเป็นทางการอีกครั้งในนาม “ศรีคำรุ้งโปรดักชั่น”